ทฤษฎีอะตอมของดาลตัน
แบบจำลองอะตอมของทอมสัน
แบบจำลองอะตอมของรัทเธอร์ฟอร์ด
ทฤษฎีอะตอมของบอห์ร





ทฤษฎีอะตอมของดาลตัน


จอห์น ดาลตัน ชาวอังกฤษได้รวบรวมเรื่องเกี่ยวกับอะตอมและตั้งเป็นทฤษฎีขึ้นเรียกว่า ทฤษฎีอะตอมของดาลตัน ซึ่งนับเป็นก้าวแรกที่ทำให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับอะตอมมากขึ้น ทฤษฎีอะตอมของดาลตันมีใจความสำคัญดังนี้

สสารทุกชนิดประกอบด้วยอนุภาคที่เล็กที่สุดเรียกว่า อะตอม ซึ่งไม่สามารถแบ่งแยกต่อไปได้อีก
อะตอมไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่หรือทำให้สูญหายไปได้
อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันย่อมเหมือนกัน กล่าวคือมีสมบัติเหมือนกันทั้งทางกายภาพและทางเคมี
อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันย่อมมีมวลหรือน้ำหนักเท่ากัน
สารประกอบเกิดจากการรวมตัวทางเคมีระหว่างอะตอมของธาตุต่างชนิดกันด้วยอัตราส่วนของจำนวนอะตอมเป็นเลขลงตัวน้อยๆ
อะตอมของธาตุสองชนิดขึ้นไปอาจรวมกันเป็นสารประกอบด้วยอัตราส่วนที่มากกว่าหนึ่งอย่างเพื่อเกิดสารประกอบมากกว่า 1 ชนิด

จากทฤษฎีอะตอมของดาลตัน แบบจำลองอะตอมมีลักษณะดังรูป






แบบจำลองอะตอมของทอมสัน


แบบจำลองนี้อธิบายสมบัติต่างๆของธาตุรวมทั้งทฤษฎีพันธะเคมีด้วย ซึ่งก็ใช้ได้บ้างในบางกรณี จนในปี ค.ศ. 1911 แบบจำลองนี้ก็ยกเลิกไป เมื่อ อี อาร์ รัทเธอร์ฟอร์ด ศึกษาการกระเจิง (scattering) ของรังสีแอลฟาในแผ่นโลหะบางๆแล้วพบว่าแบบจำลองอะตอมของทอมสันใช้อธิบายผลการทดลองไม่ได้

แบบจำลองอะตอมตามทฤษฎีอะตอมของทอมสันมีลักษณะดังรูป






แบบจำลองอะตอมของรัทเธอร์ฟอร์ด


รัทเธอร์ฟอร์ดพบว่ารังสีส่วนใหญ่ไม่เบี่ยงเบน และส่วนน้อยที่เบี่ยงเบนนั้น ทำมุมเบี่ยงเบนใหญ่มาก บางส่วนยังเบี่ยงเบนกลับทิศทางเดิมด้วย จำนวนรังสีที่เบี่ยงเบนจะมากขึ้นถ้าความหนาแน่นของแผ่นโลหะเพิ่มขึ้น



จากการคำนวณ รัทเธอร์ฟอร์ดพบว่า ในบรรดาอนุภาคแอลฟา 108 อนุภาคจะมีเพียงอนุภาคเดียวเท่านั้นที่จะถูกกระจายกลับทางเดิม รัทเธอร์ฟอร์ดจึงเสนอว่าพื้นที่หน้าตัดของนิวเคลียสเป็นเพียงราว 10-8 ของพื้นที่อะตอมหรือรัศมีของนิวเคลียสเป็นเพียง 10-4เท่าของรัศมีอะตอม นั่นคือนิวเคลียสมีรัศมีประมาณ 10-14 เมตร




ทฤษฎีอะตอมของบอห์รและการทดลองที่เกี่ยวข้อง

สเปกตรัมของไฮโดรเจน

จากการศึกษาเกี่ยวกับการเปล่งรังสีของวัตถุร้อนทำให้ทราบว่า ถ้าให้ความร้อนแก่อะตอมจนมากพอ จะทำให้อะตอมเปล่งแสง เมื่อทำการวิเคราะห์แสงที่เปล่งออกมาอย่างละเอียดโดยใช้ปริซึมหรือเกรตติง พบว่าสเปกตรัมนั้นประกอบด้วยแสงที่มีค่าความถี่หรือความยาวคลื่นเรียงตัวอย่างมีระเบียบเป็นชุดๆ

  • บาล์มเมอร์ (Balmer) ได้ทำการทดลองพบสเปกตรัมของไฮโดรเจนในช่วงแสงขาวซึ่งตามองเห็นได้ และหาสูตรสำหรับคำนวณความถี่ต่างๆในสเปกตรัมชุดที่พบ (อนุกรมบาล์มเมอร์)
  • ไลแมน (Lyman) ทำการทดลองพบสเปกตรัมในช่วงรังสีอัลตราไวโอเลต (อนุกรมไลแมน)
  • ปาสเชน(Paschen) พบสเปกตรัมในช่วงรังสีอินฟราเรด (อนุกรมปาสเชน)
  • นอกจากนี้ยังมีอีก 2 ชุด ในช่วงพลังงานที่ต่ำลงไปอีกคือ อนุกรม แบรกเกตต์ (Brackett) และ ฟุนด์ (Pfund)

ริดเบอร์ก(J.R. Rydberg) เสนอสมการที่ใช้คำนวณหา wave number ของสเปกตรัมทุกชุดดังนี้

  • R คือค่าคงที่ของริดเบอร์ก มีค่า 1.09678 x 105
  • n1, n2 เป็นเลขจำนวนเต็ม (n2 > n1)

นำสมการของริดเบอร์กไปคำนวณหา wave function ของสเปกตรัมในอนุกรมต่างๆ โดยแทนค่า n1และ n2 ดังนี้

อนุกรมไลแมนn1 คงที่ = 1 n2 = 2,3,4,...
อนุกรมบาล์มเมอร์n1 คงที่ = 2 n2 = 3,4,5....
อนุกรมปาสเชนn1 คงที่ = 3 n2 = 4,5,6...
อนุกรมแบรกเกตต์n1 คงที่ = 4 n2 = 5,6,7...
อนุกรมฟุนด์n1 คงที่ = 5 n2 = 6,7,8...




ทฤษฎีของบอห์รสำหรับไฮโดรเจนอะตอม

นีลส์ บอห์ร ได้รวบรวมผลการทดลองต่างๆ และเสนอแบบจำลองของอะตอมขึ้น โดยตั้งสมมุติฐานไว้ดังนี้

  1. อิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่รอบๆนิวเคลียสจะมีโมเมนตัมเชิงมุม (angular momentum) เป็นค่าเฉพาะ โดยมีค่าเป็นจำนวนเท่าของค่าคงที่ค่าหนึ่ง คือ h/2p ถ้าการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอน (มีมวล me)เป็นวงกลม (รัศมี r) และความเร็ว v


    ดังนั้น

    m evr = nh/2p


    • h เป็นค่าคงที่ของพลังค์
    • n เป็นเลขจำนวนเต็ม (1,2,3...)

    n จะบ่งถึงพลังงานของอิเล็กตรอนในวงโคจรหนึ่งๆ ซึ่งเรียกว่าเลขควอนตัม (quantum number) การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนในลักษณะนี้จะไม่มีการสูญเสียพลังงาน พลังงานของอิเล็กตรอนจะคงตัว ระดับพลังงานของวงโคจรที่ n เรียก En อิเล็กตรอนที่มีค่า n ต่ำ จะมีพลังงานต่ำ สถานะของอะตอมที่มีระดับพลังงานต่ำสุดเรียกว่าสถานะพื้น (ground state) ส่วนสถานะอื่นๆ ทีมีพลังงานสูงกว่าเรียกว่าสถานะกระตุ้น (excited state)



  2. เมื่ออิเล็กตรอนเปลี่ยนวงโคจรจะมีการดูดกลืนหรือเปล่งรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า วงโคจรของอิเล็กตรอนที่มีค่า n1 จะมีพลังงานน้อยกว่า n2 ดังนั้น E1 < E2

    การเปลี่ยนวงโคจรจาก n1 ไปสู่วงโคจร n2 จะเป็นการดูดกลืนรังสี
    การเปลี่ยนวงโคจรจาก n2 ไปสู่วงโคจร n1 จะเป็นการเปล่งรังสี

    เนื่องจาก DE = hu ดังนั้นความถี่(u) ของรังสีที่เปล่งออกมาจะมีค่าสูงหรือต่ำจะขึ้นอยู่กับผลต่างของระดับพลังงานทั้งสอง( DE)

    บอห์รได้เสนอสูตรสำหรับหา En โดยอาศัยกฎทางกลศาสตร์และไฟฟ้าดังนี้

    En = -(2p2meZ2e4) /n2h2

    • me คือ มวลของอิเล็กตรอน (9.11 x 10-28g)
    • e เป็นประจุของอิเล็กตรอน (4.8 x 10-10 esu)
    • z เป็นเลขอะตอมมิกของไฮโดรเจน (1)
    • h คือค่าคงที่ของพลังค์ (6.62 x 10-27 erg-sec)

    เมื่อแทนค่า me, e, z, h ที่อยู่ในวงเล็บ ค่าในวงเล็บคือ
    2.18 x 10 -11 erg
    หรือ 13.6 eV หรือ 1311.65 kJ mol-1

    สูตรของบอห์รสำหรับหารัศมีของวงโคจรอิเล็กตรอนที่มีเลขควอนตัม n คือ

    r = n2a0

    a0 = ค่าคงที่เรียกว่า รัศมีของบอห์ร (Bohr radius)
        = h2/4p2 mee2     =0.529 Ao

    อิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่รอบนิวเคลียสที่ระดับพลังงาน n = 1 จะมีพลังงานต่ำสุด (มีค่าเป็นลบ) เมื่อ n มีค่าสูงขึ้นจนกระทั่ง n = infinity จะมีพลังงานสูงสุดคือ เท่ากับศูนย์

แบบจำลองอะตอมตามทฤษฎีอะตอมของบอห์รมีลักษณะดังรูป




จุดอ่อนทฤษฎีของบอห์รและการค้นคว้าหาทฤษฎีใหม่

ทฤษฎีของบอห์รใช้อธิบายได้กับสเปกตรัมของอะตอมหรือไอออนที่มีเพียง 1 อิเล็กตรอน เช่น H, He+, Li+ แต่ใช้อธิบายสเปกตรัมทั่วไปที่มีหลายอิเล็กตรอนไม่ได้ นอกจากนั้นตามทฤษฎีของบอห์รจะอธิบายโครงสร้างของอะตอมในระดับสองมิติเท่านั้น นักวิทยาศาสตร์จึงค้นคว้าทดลองหาข้อมูลต่างๆ เพื่อใช้อธิบายโครงสร้างของอะตอมให้ถูกต้องยิ่งขึ้น ผลงานที่สำคัญที่ทำให้เข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมของอิเล็กตรอนที่จะนำไปสู่ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับอะตอมมากขึ้น คือ ผลงานของเดอบรอยล์ (Louis de Bröglie) เกี่ยวกับหลักทวิภาพ อนุภาค-คลื่นของสาร และของไฮเซนเบิร์ก (Werner Heisenberg) เกี่ยวกับหลักความไม่แน่นอน (uncertainty principle)