ระดับพลังงานของออร์บิทัลอะตอม









หลักของเพาลี

หลักนี้กล่าวว่าไม่มีอิเล็กตรอนคู่หนึ่งคู่ใดในอะตอมเดียวกัน ที่มีเลขควอนตัมทั้งสี่เหมือนกันทุกประการ

หลักนี้บ่งว่าในแต่ละอะตอมมิกออร์บิทัล เรามีอิเล็กตรอนได้อย่างมากที่สุด 2 ตัว โดยที่แต่ละตัวต้องมีสปินต่างกัน อิเล็กตรอนคู่หนึ่งอาจมี n, l, ml เหมือนกันหมด (ซึ่งแปลว่าอยู่ในออร์บิทัลเดียวกัน) ได้ตราบเท่าที่เลขควอนตัมสปินต่างกัน





ระดับพลังงานของออร์บิทัลอะตอม

ระดับพลังงานของออร์บิทัลอะตอมจะเพิ่มตามค่า n สำหรับค่า n เดียวกันระดับพลังงานของออร์บิทัลอะตอมจะขึ้นกับค่า l ด้วย

เช่น ถ้า n=3 พลังงานจะเรียงจากน้อยไปมากดังนี้ 3s < 3p < 3d สำหรับออร์บิทัล p จะมี 3 ออร์บิทัล คือ px, py และ pz มีระดับพลังงานเท่ากัน ส่วนออร์บิทัล d จะมี 5 ออร์บิทัล คือ dx2 - dy2, dz2, dxy, dyz, dxz มีระดับพลังงานเท่ากัน เรียก ปรากฏการณ์ที่หลายฟังก์ชันคลื่นมีระดับพลังงานเท่ากันว่า degeneracy

  • l = 0 (ออร์บิทัล s) ml = 0 ไม่มี degeneracy
  • l = 1 (ออร์บิทัล p) ml = +1, 0, -1 ไม่มี degeneracy
  • l = 2 (ออร์บิทัล d) ml = +2, +1, 0, -1, -2 ไม่มี degeneracy
  • เมื่อระดับพลังงานหลักมีค่าเท่ากัน ระดับพลังงานย่อยจะเรียงกันจากน้อยไปมาก คือ s < p < d < f เช่น ในระดับ n=3    3s < 3p < 3d เมื่อ n = 1 และ 2 การเรียงของระดับพลังงานจะเป็นไปตามระดับพลังงานหลัก เมื่อ n มีค่าสูงขึ้นไป (ตั้งแต่ n = 3) จะมีการซ้อนกันของระดับย่อย เช่น 4s มีระดับพลังงานต่ำกว่า 3d และ 5s ต่ำกว่า 4d เป็นต้น เมื่อ n มีค่าสูงขึ้นๆ ความแตกต่างระหว่างพลังงานในระดับย่อยต่างๆ จะยิ่งน้อยลงๆ




    การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม

    ใช้ หลักอาฟบาว (Aufbau principle) ในจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม ซึ่งสรุปได้ดังนี้

    1. ใช้หลักของเพาลี ในการบรรจุอิเล็กตรอน คือ ในแต่ละออร์บิทัลจะบรรจุอิเล็กตรอนได้อย่างมากที่สุด 2 ตัว (มีสปินต่างกัน)
      • ใช้เครื่องหมาย แทนอิเล็กตรอนที่มีสปินขึ้น (spin up)
      • ใช้เครื่องหมาย แทนอิเล็กตรอนที่มีสปินลง (spin down)
      • ใช้เครื่องหมาย แทนอิเล็กตรอนเดี่ยวในออร์บิทัล
      • ใช้เครื่องหมาย แทนอิเล็กตรอนคู่ในออร์บิทัล

    2. บรรจุอิเล็กตรอนในออร์บิทัลที่มีระดับพลังงานต่ำสุดที่ยังว่างก่อน (เรียงลำดับออร์บิทัลตามลูกศรในรูป) จนครบจำนวนอิเล็กตรอนทั้งหมดในอะตอมนั้น การจัดเรียงอิเล็กตรอนแบบนี้จะทำให้อะตอมมีสถานะเสถียรที่สุดเพราะพลังงานรวมทั้งหมดของอะตอมมีค่าต่ำสุด


    3. การบรรจุอิเล็กตรอนในออร์บิทัลที่มีระดับพลังงานเท่ากันเช่นออร์บิทัล d จะใช้ กฎของฮุนด์ (Hund's rule) คือ"การบรรจุอิเล็กตรอนในออร์บิทัลที่มีระดับพลังงานเท่ากัน จะบรรจุในลักษณะที่ทำให้มีอิเล็กตรอนเดี่ยวมากที่สุด"
    4. การบรรจุอิเล็กตรอนที่ทุกๆออร์บิทัล มีระดับพลังงานเป็น degenerate (ระดับพลังงานเท่ากัน) ทุกออร์บิทัลอาจมีอิเล็กตรอนอยู่เต็ม (2 อิเล็กตรอนต่อ 1 ออร์บิทัล) หรือมีอิเล็กตรอนอยู่เพียงครึ่งเดียว (1 อิเล็กตรอนต่อ 1 ออร์บิทัล)
    5. เช่น

      Ne : 1s2, 2s2, 2p6

            เรียกว่า การบรรจุเต็ม

      N :  1s2, 2s2, 2p3

            เรียกว่า การบรรจุครึ่ง

      โครงแบบอิเล็กตรอนแบบบรรจุเต็มจะเสถียรกว่าแบบบรรจุครึ่งและแบบบรรจุครึ่งก็จะเสถียรกว่าแบบอื่นๆ

      เช่น

      • 2p6เสถียรกว่า 2p3
      • 2p3เสถียรกว่า 2p4
      • 3d10เสถียรกว่า 3d9


    ตัวอย่าง ใช้หลักเอาฟบาวเขียนโครงแบบอิเล็กตรอน สำหรับ15p

    วิธีทำ บรรจุอิเล็กตรอนในออร์บิทัลต่างๆ ตามระดับพลังงานดังนี้

                                 3p

    3s

                             2p

    2s

    1s

    จากแผนภาพข้างต้นนำมาเขียนโครงแบบอิเล็กตรอนตามระดับพลังงานในออร์บิทัลที่เพิ่มขึ้นได้เป็นดังนี้

    1s2 2s2 2p6 3s2 3p3

    และทำนองเดียวกันเขียนโครงแบบอิเล็กตรอนใน 18Ar และ 19K ได้ดังนี้

    18Ar    1s2 2s2 2p6 3s2 3p6

    19K    1s2 2s2 2p6 3s2 3p64s1

    การเขียนโครงแบบอิเล็กตรอนอาจเขียนย่อให้สั้นลง โดยแยกส่วนที่เป็นโครงแบบของแก๊สมีสกุล (nobel gas) ไว้ในวงเล็บ ดังนี้

    19K    [Ar] 4s  1




    ตัวอย่าง เขียนโครงแบบอิเล็กตรอนของ 24Cr

    1s2 2s2 2p6 3s2 3p64s13d5

    หรือเขียนเป็น

    1s2 2s2 2p6 3s2 3p63d54s1

    สำหรับ29Cu ก็จะมีโครงแบบอิเล็กตรอนเป็น

    1s2 2s2 2p6 3s2 3p63d104s1

    หรือเขียนเป็น

    1s2 2s2 2p6 3s2 3p63d94s2

    ทั้งนี้เนื่องจากการจัดเป็น filled configuration จะเสถียรกว่า





    ตารางแสดงโครงแบบอิเล็กตรอนของธาตุ

    เลขอะตอมมิก ธาตุ โครงแบบอิเล็กตรอน
    1 H 1s1
    2 [He] 1s2
    3 Li [He] 2s1
    4 Be [He] 2s2
    5 B [He] 2s2 2p1
    6 C [He] 2s2 2p2
    7 N [He] 2s2 2p3
    8 O [He] 2s2 2p4
    9 F [He] 2s2 2p5
    10 Ne [He] 2s2 2p6
    11 Na [Ne] 3s1
    12 Mg [Ne] 3s2
    13 Al [Ne] 3s23p1
    14 Si [Ne] 3s2 3p2


    การเสียอิเล็กตรอนทำให้อิเล็กตรอนเปลี่ยนไปเป็นไอออนบวก อิเล็กตรอนจะหลุดจากระดับย่อยที่มีพลังงานสูงสุดของระดับซึ่งมีค่า n เป็นค่าสุงสุดของอะตอมนั้น

    เช่น 33As มีโครงแบบอิเล็กตรอนเป็น

    1s2 2s2 2p6 3s23p63d104s24p3

    เมื่อเสียอิเล็กตรอนไป 3 ตัว จะเป็น As3+ อิเล็กตรอนทั้ง 3 ตัว ใน 4p จะหลุดออกไปเหลือโครงแบบอิเล็กตรอนของ As3+ เป็น

    1s2 2s2 2p6 3s23p63d104s2