เลขควอนตัมหลัก
เลขควอนตัมโมเมนตัมเชิงมุม
เลขควอนตัมแม่เหล็ก
เลขควอนตัมสปิน
Principle Quantum Number
Angular Momentum Quantum Number
Magnetic Quantum Number
Spin Quantum Number







เลขควอนตัม (Quantum Number):- เลขจำนวนเต็ม (n, l, ml) ที่ปรากฏในสมการชเรอดิงเจอร์เป็นตัวระบุถึงพลังงานของอิเล็กตรอนว่ามีได้ในขนาดหรือค่าจำเพาะเท่านั้น ลักษณะเช่นนี้เรียกได้ว่า ควอนไทเซชัน (quantization) เลขจำนวนเต็มแต่ละตัวเรียกว่า เลขควอนตัม จากการแก้สมการคลื่นที่ซับซ้อนขึ้นไปอีก พบว่ามีเลขควอนตัมใหม่สำหรับอิเล็กตรอนอีกค่าหนึ่ง คือ ms เราอาจกล่าวถึงอิเล็กตรอนตัวหนึ่งตัวใดภายในอะตอมด้วยเลขควอนตัมทั้ง 4 ค่า อิเล็กตรอนแต่ละตัวมีค่าทั้ง 4 นี้ แต่ละชุดไม่ซ้ำกันโดยที่ค่า n, l, ml, ms จะเป็นตัวกำหนดพลังงานของอิเล็กตรอนตัวนั้น





เลขควอนตัมหลัก

n เรียกว่า Principle quantum number (เลขควอนตัมหลัก) บอกให้ทราบถึงระดับพลังงานหลักของอิเล็กตรอนตัวนั้นๆ








เลขควอนตัมโมเมนตัมเชิงมุม

l เรียกว่า Angular momentum quantum number (เลขควอนตัมโมเมนตัมเชิงมุม)

      หรือ Orbital quantum number (เลขควอนตัมออร์บิทัล)

      หรือ Azimuthal quantum number (เลขควอนตัมแอซิมิวทัล)

ค่า l มีความสัมพันธ์กับโมเมนตัมเชิงมุมของอิเล็กตรอน เมื่อกำหนด n เป็นค่าหนึ่งแล้ว l จะมีค่าเป็นเลขจำนวนเต็มตั้งแต่ 0, 1, 2 ,........., n-1

เช่น ถ้า n = 3 ค่า l จะมีได้เป็น 0, 1, 2

ถ้าค่า l สูงแสดงว่าอิเล็กตรอนเคลื่อนที่ด้วยโมเมนตัมเชิงมุมสูงและมีพลังงานสูง ค่า l บอกให้ทราบถึงระดับพลังงานย่อยของอิเล็กตรอนและบอกให้ทราบถึงรูปร่างของออร์บิทัลที่บรรจุอิเล็กตรอนตัวนั้น

ใช้สัญลักษณ์แทนค่า l ดังนี้





เลขควอนตัมแม่เหล็ก

ml เรียกว่า Magnetic quantum number (เลขควอนตัมแม่เหล็ก)

การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนรอบนิวเคลียสเหมือนกระแสไฟฟ้า (กระแสอิเล็กตรอน) วิ่งเป็นวงซึ่งจะทำให้เกิดสนามแม่เหล็กเหนี่ยวนำขึ้น ดังนั้นอิเล็กตรอนที่อยู่ในอะตอมจะมีสมบัติของความเป็นแม่เหล็กและมีพลังงานเป็นชุดๆ โดยแต่ละชุดจะมีพลังงานเท่ากันแต่จะมีพลังงานแตกต่างกัน ถ้าอยู่ในสนามแม่เหล็กภายนอก

ml ขึ้นกับค่า l โดยจะมีค่าระหว่างๅ l และ -l เช่น

เมื่อ l ค่าเดียวกัน ระดับพลังงานของ ml จะแตกต่างกันในสนามแม่เหล็กภายนอก ตัวอย่างเช่น l = 1 (p) ml มีค่าได้ 3 ค่า คือ +1, 0,-1

ในสนามแม่เหล็กภายนอกระดับพลังงานจะแตกต่างกัน และมีค่าเรียงกันจากน้อยไปมากดังนี้ +1, 0, -1





เลขควอนตัมสปิน

ms เรียกว่า Spin quantum number (เลขควอนตัมสปิน)

ms เกี่ยวข้องกับโมเมนตัมเชิงมุมภายในของอิเล็กตรอน เนื่องจากอิเล็กตรอนมีสปิน หรือการหมุนรอบแกนตัวเอง อิเล็กตรอนซึ่งเป็นอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าหมุนรอบแกนตัวเอง อิเล็กตรอนก็จะเหมือนแท่งแม่เหล็กเล็กๆ เมื่ออยู่ในสนามแม่เหล็กภายนอกจะมีการจัดตัวเป็นสองแบบที่ต่างกัน คือ สปินขึ้น (spin up) และสปินลง (spin down) จึงทำให้ ms มีค่าได้ 2 ค่า คือ +1/2 และ -1/2

อิเล็กตรอนแต่ละตัวจะมีเลขควอนตัมทั้งสี่ชนิดนี้เป็นชุดหนึ่งชุดใดโดยเฉพาะที่ไม่ซ้ำกัน เลขควอนตัมแต่ละชุดนั้นจะตรงกับฟังก์ชันคลื่นของอิเล็กตรอน ซึ่งเป็นสิ่งกำหนดสถานะและพลังงานของอิเล็กตรอนแต่ละตัว


ตารางแสดงเลขควอนตัมของอิเล็กตรอน ในระดับ n = 1 และ n = 2

ระดับพลังงาน n l ml ms ชนิดของออร์บิทัล
n = 1

1

1

0

0

0

0

+1/2

-1/2

อิเล็กตรอน 2 ตัวอยู่ในออร์บิทัล s
n = 2

2

2

2

2

2

2

2

2

0

0

1

1

1

1

1

1

0

0

+1

+1

0

0

-1

-1

+1/2

-1/2

+1/2

-1/2

+1/2

-1/2

+1/2

-1/2

อิเล็กตรอน 2 ตัวอยู่ในออร์บิทัล s

อิเล็กตรอน 6 ตัวอยู่ในออร์บิทัล p








จากตารางจะเห็นว่าอิเล็กตรอนแต่ละตัวมีเลขควอนตัมทั้งสี่ (n, l, ms, ms) ไม่เหมือนกันหมดทุกค่า จะเหมือนกันมากที่สุด 3 ค่า